ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

เรื่องที่แนะนำ

รูปแบบการเรียนรู้แบบไตรสิกขา

1.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ                  พุทธศาสนาถือว่า ในการเป็นอยู่ของมนุษย์นั้น ชีวิตที่ดีคือชีวิตแห่งการศึกษาหรือการฝึกฝนอบรม มนุษย์ต้องศึกษาพัฒนาตนเองไปจนกว่าจะมีชีวิตที่ดีงามโดยสมบูรณ์จนเป็นชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา คือ คิด พูด และกระทำอย่างสุจริต ซึ่งเรียกว่าชีวิตที่ประเสริฐ หลักสำคัญในการศึกษาฝึกฝนอบรมตน คือ การพัฒนาการดำเนินชีวิตตนเองสามด้านไปพร้อมกัน ได้แก่ พัฒนาพฤติกรรม เรียกว่า ศีล พัฒนาทางด้านจิตใจ เรียกว่า สมาธิ และพัฒนาด้านปัญญา เรียกว่า ปัญญา (พระธรรมปิฏก  2539 : 188)  ทั้งสามด้านนี้มีความสัมพันธ์อิงอาศัยกัน พฤติกรรมที่ดีเป็นช่องทางให้จิตใจพัฒนาและช่วยให้ปัญญางอกงาม จิตใจที่พัฒนาแล้วจะทำให้เกิดปัญญาเห็นถูกต้องตามความจริงและปัญญาที่เห็นถูกคิดถูกจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดีงามต่อไป ปัญญาจึงเป็นตัวจัดปรับทุกอย่าง ทั้งพฤติกรรมและจิตใจให้ลงตัวพอดี ทำให้มีชีวิตอยู่อย่างรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายและจัดการกับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง มีชีวิตที่ดีงาม สังคมมีความสงบสุข 2.   วัตถุประสงค์ของรูปแบบ                  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองและต้องทำควบคู่กันไป   คือ