รูปแบบการเรียนรู้แบบไตรสิกขา


1.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
                พุทธศาสนาถือว่า ในการเป็นอยู่ของมนุษย์นั้น ชีวิตที่ดีคือชีวิตแห่งการศึกษาหรือการฝึกฝนอบรม มนุษย์ต้องศึกษาพัฒนาตนเองไปจนกว่าจะมีชีวิตที่ดีงามโดยสมบูรณ์จนเป็นชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา คือ คิด พูด และกระทำอย่างสุจริต ซึ่งเรียกว่าชีวิตที่ประเสริฐ หลักสำคัญในการศึกษาฝึกฝนอบรมตน คือ การพัฒนาการดำเนินชีวิตตนเองสามด้านไปพร้อมกัน ได้แก่ พัฒนาพฤติกรรม เรียกว่า ศีล พัฒนาทางด้านจิตใจ เรียกว่า สมาธิ และพัฒนาด้านปัญญา เรียกว่า ปัญญา (พระธรรมปิฏก 2539 : 188) ทั้งสามด้านนี้มีความสัมพันธ์อิงอาศัยกัน พฤติกรรมที่ดีเป็นช่องทางให้จิตใจพัฒนาและช่วยให้ปัญญางอกงาม จิตใจที่พัฒนาแล้วจะทำให้เกิดปัญญาเห็นถูกต้องตามความจริงและปัญญาที่เห็นถูกคิดถูกจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดีงามต่อไป ปัญญาจึงเป็นตัวจัดปรับทุกอย่าง ทั้งพฤติกรรมและจิตใจให้ลงตัวพอดี ทำให้มีชีวิตอยู่อย่างรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายและจัดการกับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง มีชีวิตที่ดีงาม สังคมมีความสงบสุข
2.  วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
                เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองและต้องทำควบคู่กันไป คือ
1. ความประพฤติ คือ ศีล ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ความกตัญญู การตรงต่อเวลา การมีระเบียบวินัย
2. จิตใจ คือ ความตั้งมั่นตั้งใจ เอาใจใส่ มีใจจดจ่อ อย่างมีสมาธิ
3. ปัญญา คือ การจัดการความรู้ การคิดพิเคราะห์
3.  กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ  โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
                1.  ขั้นนำ
                                1.1  จัดสถานที่เรียนสิ่งแวดล้อม และผู้เรียนให้มีระเบียบ เพื่อเกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้
                                1.2 ให้ผู้เรียนทำสมาธิ สวดมนต์ ก่อนนำเข้าสู่บทเรียน   โดยครูเป็นต้นแบบ (แนะนำ ทำให้ดู เป็นอยู่ให้เห็น  สงบเย็นให้ได้สัมผัส)
                2.  ขั้นสอน
                2.1  ผู้เรียนมีระเบียบ  มีสมาธิ  ศึกษาสาระอย่างตั้งใจ
          2.2  ครูจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด  ลงมือค้นคว้า  ซักถาม  คิดวิเคราะห์
                2.3  ทำกิจกรรมร่วมกัน ฝึกปฏิบัติ โดยเน้นให้เรียนรู้จักรับผิดชอบในงานที่ทำ และความเสียสละ
3.  ขั้นสรุป ทบทวนใช้ปัญญาและเหตุผล
          3.1  กิจกรรมกลุ่ม  สรุปสาระที่ได้เรียนรู้
                3.2  นำเสนอผลงาน          
                3.1  ครูสรุปประเด็นตามสาระ และสิ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.  ขั้นประเมินผล
          4.1  สรุปการเรียนรู้ของตนเอง
                4.2  ประเมินการเรียนการสอน เพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไป       
4.  ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ  
                ผู้เรียนมีสมาธิ มีความเข้าใจเนื้อหาสาระที่เรียน และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่น ๆ ได้ด้วย

ตัวอย่างแผนการสอนที่บูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
   กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
   หน่วยการเรียนรู้ที่  1                      เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส                     เวลา 6 ชั่วโมง
   เรื่อง สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก                                                    เวลา 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวบุญฑริกา  จันทรประสาท                         คบ.คณิตศาสตร์ รหัส 5910111204035
 

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
3.2  ม.2/2 ใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา        
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน    6.1   มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย  ทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์      และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์      
ตัวชี้วัด
6.1 ม.2/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.2/2 ใช้ความรู้  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการ   
                  แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
ค 6.1 ม.2/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม


สาระสำคัญ
รูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวด้านประกอบมุมฉาก


จุดประสงค์การเรียนรู้
          1.อธิบายเกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากได้(K)
2.คำนวณหาความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่ต้องการทราบได้ เมื่อทราบความยาวด้านอีกสองด้านของสามเหลี่ยมมุมฉาก(P)
          3.นักเรียนเห็นประโยชน์ของสมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก(A)
สาระการเรียนรู้
          ด้านความรู้
  

       
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (Right Triangle) คือ รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมหนึ่งกาง 90°
จากรูป ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งมี C เป็นมุมฉาก
          - AB เป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก อยู่ตรงข้ามกับมุม แทนด้วยความยาว c
          - AC เป็นด้านประกอบมุมฉาก อยู่ตรงข้ามกับมุม แทนด้วยความยาว b
          - BC เป็นด้านประกอบมุมฉาก อยู่ตรงข้ามกับมุม A แทนด้วยความยาว a 
ให้สังเกตว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก จะยาวที่สุด
จะได้ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมสามเหลี่ยมมุมฉาก ABC ดังนี้
 


คือ รูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวด้านประกอบมุมฉาก
          ด้านทักษะ/กระบวนการ
1.ความสามารถในการคิด
2.ความสามารถในการแก้ไขปัญหา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                    1.มุ่งมั่นในการทำงาน
                    2.มารยาทในการทำงาน
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนการสอนแบบไตรสิกขาบูรณาการกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (Engagement)
1.ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการที่ให้นักเรียนนั่งสมาธิฝึกจิตใจให้สงบ 2-3 นาที จากนั้นครูทบทวนความรู้เดิม
1.1 ในคณิตศาสตร์มีรูปเรขาคณิตสองมิติอะไรบ้าง (ใช้power point แสดง :รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปหลายเหลี่ยม)
                    1.2 รูปเรขาคณิตแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร (มีมุมกับด้านไม่เท่ากัน)
          1.3 นักเรียนทราบหรือไม่ว่าในรูปเรขาคณิตชนิดเดียวกันมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร  (ใช้ power point แสดง :รูปสี่เหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านกว้างกับด้านยาว)
2.ตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับหัวข้อที่จะสอน
2.1 ในกรณีของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก นอกจากมีมุมๆหนึ่งเป็นมุมที่มีขนาด 90 องศา แล้วมีสมบัติอื่นอยู่หรือไม่
ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (Exploration)
1.ครูยกตัวอย่างรูปสามเหลี่ยมมุมฉากแต่ละแบบให้นักเรียนดู อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ นักเรียนตั้งใจอย่างจดจ่อ และมีสมาธิ
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (Right Triangle) คือ รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมหนึ่งกาง 90°
จากรูป ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งมี C เป็นมุมฉาก
                    - AB เป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก อยู่ตรงข้ามกับมุม แทนด้วยความยาว c
                    - AC เป็นด้านประกอบมุมฉาก อยู่ตรงข้ามกับมุม แทนด้วยความยาว b
                    - BC เป็นด้านประกอบมุมฉาก อยู่ตรงข้ามกับมุม A แทนด้วยความยาว a 
2.แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 6 คน แจกใบกิจกรรมที่ 1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
3.ก่อนทำใบกิจกรรมครูสอบถามความเข้าใจในคำชี้แจงของนักเรียนก่อน โดยสอบถามว่า
                    3.1 ใบกิจกรรมที่ 1 ในแต่ละส่วนให้ทำอะไรบ้าง
4.ให้นักเรียนลงมือทำใบกิจกรรมที่ 1 (วัดความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก นำข้อมูลที่ได้ใส่ในตารางที่กำหนดให้ และร่วมกันสรุปสมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากลงในใบกิจกรรม)
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
1.ให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาเฉลยกิจกรรมที่ 1 กลุ่มละข้อ และเติมข้อมูลในส่วนของข้อที่เฉลยลงในตารางให้สมบูรณ์
เฉลย 1.  ด้าน a ยาว 3 เซนติเมตร  ด้าน b ยาว 4 เซนติเมตร ด้าน c ยาว5 เซนติเมตร
       2.  ด้าน a ยาว  8 เซนติเมตร  ด้าน b ยาว 6 เซนติเมตร ด้าน c ยาว 10 เซนติเมตร
                  3.  ด้าน a ยาว 5 เซนติเมตร  ด้าน b ยาว 12 เซนติเมตร ด้าน c ยาว 13  เซนติเมตร
                  4.  ด้าน a ยาว 2.5 เซนติเมตร  ด้าน b ยาว 6 เซนติเมตร ด้าน c ยาว  6.5 เซนติเมตร
                  ตารางเขียนคำตอบ
ข้อ
a
b
c
1
3
4
5
9
16
25
25
2
8
6
10
64
36
100
100
3
5
12
13
25
144
169
169
4
2.5
6
6.5
6.25
36
42.25
42.25

2.ให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาอธิบายเกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่กลุ่มทำเองได้สรุป (ด้านcเป็นด้านที่มีความยาวมากที่สุด,ผลบวกของกำลังของของด้านaและbเท่ากับกำลังสองของด้านc)
3.ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ทำ และสรุปผล
4.ครูให้ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และบอกนิยามที่ถูกต้องให้กับนักเรียน และแจกใบความรู้เรื่อง สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เพื่อให้นักเรียนได้มีไว้ทบทวน
(รูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวด้านประกอบมุมฉาก)
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration)
1.ครูยกตัวอย่างการใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากในการแก้ปัญหาจากโจทย์ในใบความรู้เรื่อง สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมสามเหลี่ยมมุมฉาก ABC ดังนี้
 


คือ รูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวด้านประกอบมุมฉาก
ตัวอย่างที่ 1 จงหาความยาวที่เหลือของรูปสามเหลี่ยมต่อไปนี้
วิธีทำ จากทฤษฏีบทพีทาโกรัส คือ ด้านตรงข้ามมุมฉากยกกำลังสอง เท่ากับ ด้านที่เหลือยกกำลังสองแล้วบวกกัน  นั่นคือ
จากรูป  a=4 , b=3  หาค่าของ c


จะได้ว่า                            =16 + 9








                              = 25

ดังนั้น c=5
ตอบ c ยาว 5 หน่วย
2.แจกใบกิจกรรมที่ 2  (โจทย์การแก้ปัญหา หาความยาวด้านที่เหลือโดยใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมพีทาโกรัส) ให้นักเรียนแต่ละคนทำ
ขั้นที่ 5 ประเมิน (Evaluation)
1.ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนดังนี้ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน และสังเกตการตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน
2.คะแนนจากใบกิจกรรมที่ 1 และ 2


สื่อและแหล่งเรียนรู้
          1.power point (นำเสนอตัวอย่างรูปและความแตกต่างของรูปเรขาคณิต)
          2.ใบกิจกรรมที่ 1 และ 2
          3.ใบความรู้เรื่อง สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
ชิ้นงาน/ภาระงาน
          1.กิจกรรมกลุ่ม :ใบกิจกรรมที่ 1
          2.งานเดี่ยว : ใบกิจกรรมที่ 2 มาทดสอบกัน
การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การวัด
อธิบายเกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากได้ 
เขียนสรุป
ใบกิจกรรมที่ 1
ถูกต้องมากกว่า 70% ผ่านเกณฑ์
คำนวณหาความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่ต้องการทราบได้ เมื่อทราบความยาวด้านอีกสองด้านของสามเหลี่ยมมุมฉาก         
ทำแบบทดสอบ
ใบกิจกรรมที่ 2
คะแนน 12 คะแนนขึ้นไปผ่านเกณฑ์
นักเรียนเห็นประโยชน์ของสมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

การสังเกต
แบบสังเกต
อยู่ในระดับดีขึ้นไปผ่านเกณฑ์




เกณฑ์การประเมิน
1.เกณฑ์การให้คะแนน ใบกิจกรรมที่ 1
ประเด็นการประเมิน
ระดับคะแนน
น้ำหนัก
คะแนนรวม
4
3
2
1
การวัดความยาวด้าน
ถูกทั้งหมด
ถูก 3 ข้อ
ถูก 1-2 ข้อ
ไม่ถูกเลย
1
4
การบันทึกลงตาราง
ถูกทั้งหมด
ถูก 3 ข้อ
ถูก 1-2 ข้อ
ไม่ถูกเลย
1
4
การสรุป
ถูกต้องมากกว่า 80%
ถูก 70-79%
ถูก 60-69%
ถูกไม่ตำกว่า 50 %
3
12
คะแนนรวม
20
เกณฑ์การตัดสิน
          คะแนน  17-20 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
คะแนน  13-16 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ดี
คะแนน  9-12 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
คะแนน  5-8 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป
2.เกณฑ์การให้คะแนน ใบกิจกรรมที่ 2
                   คะแนนข้อละ 4 คะแนน  มี 5 ข้อ ดังนั้นคะแนนรวม เท่ากับ 20 คะแนน
          เกณฑ์การตัดสิน
คะแนน  17-20 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
คะแนน  12-16 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ดี
คะแนน  9-11 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
คะแนน  5-8 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป





3.แบบประเมินนักเรียนจากการสังเกต
รายการประเมิน
ระดับคะแนน
4
3
2
1
1.       ความสนใจในการเรียนการสอน




2.       การตอบคำถาม




3.       ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม




4.       ความตั้งใจและพยายามในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย




5.       การนำความรู้ในเรื่องที่สอนมาใช้ประโยชน์




เกณฑ์การให้คะแนน
          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ   ให้       4        คะแนน
          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ให้       3        คะแนน
          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง           ให้       2        คะแนน
          ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครั้ง ให้      1         คะแนน
เกณฑ์การตัดสิน
คะแนน  17-20 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
คะแนน  13-16 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ดี
คะแนน  9-12 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
คะแนน  5-8 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป






บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………….……………………………..…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 
ปัญหา/อุปสรรค
…………………………………………………………….……………………………..…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………     …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 
แนวทางแก้ไข/ปรับปรุง     
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 

ลงชื่อ .......................................................ผู้สอน
                                                                     (…………………………………………………..)              
                                                          วันที่..........เดือน.............................พ.ศ. ................






อ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.(2550).การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญฑริกา จันทร์ประสาท.แผนการจัดการเรียนรู้.
พระครูประพัฒน์ ธรรมกิจ.การสอนแบบไตรสิกขา.https://www.gotoknow.org/posts/221971. [ออนไลน์]เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561.

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม