ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)   
เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว   ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ  และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  
บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
1. นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารทางการศึกษา Educational Communications and Information Technology Innovation ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท หัวข้อที่ 3 : ทฤษฎีและแนวคิด นาเสนอ เรื่อง
2. Constructionism เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้น โดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusetts Institute of Technology) ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
3. สาระสาคัญทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ลงมือกระทาด้วยตนเอง (Learning by doing) นอกจากนั้น มองลึกลงไปถึงการพัฒนาการของผู้เรียนในการเรียนรู้ซึ่งจะมีมากกว่าการได้ ลงมือปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัว ของผู้เรียนเอง ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก ของตน สรุปคือ ประสบการณ์ใหม่และความรู้ใหม่+ประสบการณ์เดิมและความรู้เดิม = องค์ความรู้ใหม่บุคคล
4. ผู้เรียนจะสามารถเก็บข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและเก็บเข้าไปเป็น โครงสร้างของความรู้ภายในสมองของตนเอง ขณะเดียวกันก็สามารถเอาความรู้ ภายในที่ตนเองมีอยู่แล้วแสดงออกมาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ซึ่งจะเกิด เป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆได้คือ ผู้เรียนจะเรียนรู้เองจากประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม ภายนอก แล้วนาข้อมูลเหล่านี้กลับเข้าไปบันทึกในสมองผสมผสานกับความรู้ ภายในที่มีอยู่แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ดังนั้นในการลงมือ ปฏิบัติด้วยตนเอง (Learning by doing) จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียน เข้าใจในตนเอง มองเห็นความสาคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็น องค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ประสบการณ์และบรรยากาศที่ เอื้ออานวยต่อการเรียนรู้นั่นเอง ความสาคัญทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
5. ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) ได้ให้ความเห็นว่า ทฤษฎี การศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการ ด้วยกัน สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่ รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้น จากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ สังเกตว่าในขณะที่เรา สนใจ ทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่าง ตั้งใจเราจะไม่ลดละความพยายาม เราจะคิดหาวิธีการ แก้ไขปัญหานั้นจนได้ สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หาก กระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น พื้นฐานการศึกษา กับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
จากที่กล่าวมาสามารถสรุปให้เป็น หลักการ ต่างๆที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน ได้ดังนี้ 1.หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หลักการเรียนรู้ ตามทฤษฎี Constructionism คือ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมาย ซึ่งจะรวมถึงปฏิกิริยา ระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสาคัญใน สิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาหลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยครูควรพยายาม จัดบรรยากาศการเรียนการสอน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม การเรียนด้วยตนเองโดยมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย(Many Choice) และเรียนรู้อย่างมีความสุขสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่าง ความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้ส่วนครูเป็นผู้ช่วยเหลือและคอยอานวยความ สะดวก
หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม หลักการนี้เน้น ให้เห็นความสาคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน(Social value) ทาให้ผู้เรียน เห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สาคัญ การสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไป เผชิญโลก ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้สาคัญและสามารถ แลกเปลี่ยนความรู้กันได้เมื่อเขาจบออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายและทางาน ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 4.หลักการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ในการรู้จักแสวงหา คาตอบจากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยตนเองเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่น เมื่อผู้เรียน เรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn how to Learn)” เริ่มที่ผู้เรียนต้องอยากจะรู้ อยากจะเรียน อยากจะทาก่อน จึงจะ เป็นตัวเร่งให้เขาขับเคลื่อน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) 2. ใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน เป็นแรงจูงใจภายใน (internal motivation)ให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ 3. การเรียนรู้เป็นทีม (team learning) จะดีกว่าการเรียนรู้คนเดียว 4. เป็นการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning to learn) ไม่ใช่การสอน แนวคิดสาคัญทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน 1. Explore คือ การสารวจตรวจค้น ในขั้นตอนนี้บุคคลจะเริ่ม สารวจตรวจค้นหรือพยายามทาความเข้าใจกับสิ่งใหม่(assimilation) 2. Experiment คือ การทดลอง ในขั้นตอนนี้จะเป็นการ ทดลองทาภายหลังจากที่มีการสารวจไปแล้ว เป็นการปรับความแตกต่าง (accommodation) เมื่อได้พบหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่สัมพันธ์กับความคิดเดิมที่มีอยู่ในสมอง วิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)   Learning by doing คือ การเรียนรู้จากการกระทา ขั้นนี้ เป็นการลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือการได้ปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมที่มีความหมายต่อตนเอง แล้วสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเอง ขึ้นมา ซึ่งจะคาบเกี่ยวกับขั้นตอนที่ผ่านมา ขั้นนี้จะเกิดทั้งการดูดซึม (assimilation) และ การปรับความแตกต่าง (accommodation) ผสมผสานกันไป เช่นเดียวกัน วิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  Doing by learning คือ การทาเพื่อที่จะทาให้เกิด การเรียนรู้ ขั้นตอนนี้จะต้องผ่านขั้นตอนทั้ง 3 จนประจักษ์แก่ใจตนเอง ว่าการลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือการได้ปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมที่มีความหมายนั้น สามารถทาให้เกิดการเรียนรู้ได้และเมื่อ เข้าใจแล้วก็จะเกิดพฤติกรรมในการเรียนรู้ที่ดี รู้จักคิดแก้ปัญหา รู้จักการ แสวงหาความรู้ การปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆส่งผลให้ คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาเป็น วิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  การสอนตามแนว Constructivism เน้นความสาคัญของ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสาคัญของความรู้เดิม 2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถ สร้างความรู้ด้วยตนเองได้ผู้เรียนจะเป็นผู้ออกไปสังเกตสิ่งที่ตนอยากรู้ มาร่วม กันอภิปราย สรุปผลการค้นพบ แล้วนาไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสาร วิชาการ หรือแหล่งความรู้ที่หาได้เพื่อตรวจความรู้ที่ได้มา และเพิ่มเติมเป็นองค์ ความรู้ที่สมบูรณ์ต่อไป 3. การเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จนค้นพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ เรียนรู้วิเคราะห์ต่อจนรู้จริงว่า ลึก ๆ แล้วสิ่ง นั้นคืออะไร มีความสาคัญมากน้อยเพียงไร และศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งลงไป จนถึงรู้แจ้ง การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism).เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต สารวจเพื่อให้เห็นปัญญา 2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่นแนะนา ถามให้คิด หรือสร้างความรู้ได้ ด้วยตนเอง 3. ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อ ๆ ไป ให้ทางานเป็นกลุ่ม 4. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะ การคิดต่าง ๆ การปฏิบัติการแก้ปัญหาและพัฒนาให้เคารพความคิดและ เหตุผลของผู้อื่น บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาท เป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกันด้วยตัวของเขาเอง(ทาไปและเรียนรู้ ไปพร้อมๆกัน) บทบาทที่คาดหวังจากผู้เรียน คือ 1. มีความยินดีร่วมกิจกรรมทุกครั้งด้วยความสมัครใจ 2. เรียนรู้ได้เอง รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง 3. ตัดสินปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล 4. มีความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง 5. วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้ 6. ให้ความช่วยเหลือกันและกัน รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองทาอยู่และที่ได้รับ มอบหมาย 7. นาสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้นั้น บทบาทของผู้เรียน ที่จะช่วยส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism). การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระ การเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง 2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ 3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทาในสิ่งที่สนใจ ซึ่งจะทาให้ผู้เรียนมี แรงจูงใจในการคิด การทา และการเรียนรู้ต่อไป การประยุกต์ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จัดสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ เช่น วัย ความถนัดความสามารถ และประสบการณ์
          ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองConstructivism(ทิศนา แขมมณี.2554:90-94)
วีก็อสกี้ ( Vygotsky ) เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาว์
ปัญญาในสมัยเดียวกับเพี่ยเจต์ ( Piaget ) ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเพียเจต์และวีก็อทสกี้เป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism ) เพียเจต์อธิบายว่า พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม ( assimilation ) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ( accommodation ) พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับและซึมซาบ ข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม หากไม่สามารถสัมพันธ์กันได้จะเกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น ( disequilibrium ) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในภาวะสมดุล ( equilibrium ) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ( accommodation )
 ทั้งเพียเจต์และวีก็อทสกี้ นับว่าเป็นนักทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับ “ cognition ” หรือกระบวนการรู้คิด หรือกระบวนการทางปัญญา นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ อุลริค ไนส์เซอร์ ( Ulrich Neisser )
 เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของทฤษฎีการสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น ผู้เขียนจึงจะขอเปรียบเทียบแนวคิดนี้กับแนวคิดของทฤษฎีกลุ่มปรนัยนิยม ( Objectivism ) ซึ่งมีความเห็นว่า โลกนี้มีความรู้ ความจริง ซึ่งเป็นแก่นแท้แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง การศึกษาคือการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรู้ ความจริงเหล่านี้
 โจแนสเซน ( Jonassen , 1992 : 138 – 139 ) กล่าวย้ำว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้จะให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ สรุปได้ว่า การเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการในการ “ acting on ” ไม่ใช่ “ taking in ” กล่าวคือ เป็นกระบวนการผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล ไม่ใช่เพียงรับข้อมูลเข้ามา ( Fosnot , 1992 : 171 )



 สรุป
การจะทำให้เกิดกระบวนเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism นั้นไม่ยากนัก เพราะเมื่อมีการเริ่มต้นแล้วการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ และมีพลังเพียงพอที่จะขับตัวเองให้ทางานสาเร็จตามเป้าหมาย(แต่ในระยะแรก นั้นจะต้องอาศัยเวลาในการเริ่มต้นพอสมควร) ครูเองจะได้สัมผัสกับบรรยากาศ การเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา ผู้เรียนมีความสุขและมุ่งมั่นที่จะทางานด้วยตนเองจน สาเร็จและที่น่าประหลาดใจก็คือผลงานที่ออกมาจะมีความหลากหลาย จะเห็นความคิดดีๆหรือสิ่งใหม่ๆที่เจริญงอกงามขึ้น ดังนั้นการให้โอกาสในการ เริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุด ครูผู้สอนเพียงแค่เปิดความคิดและเปิดใจเพื่อให้ โอกาสกับผู้เรียนได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวของเขาเอง




ที่มา 
ทิศนา  แขมมณี.(2554).ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
        กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.ทฤษฎีพหุปัญญา.(2548). https://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_  
         of_multiple_intelligences[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2561.
ธงชัย จันทร์หอมและคณะ.(2558).ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง.        
          https://www.slideshare.net/ssuser605b96/constructivism-43272082[ออนไลน์]                  
          เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2561.
สยุมพร ศรีมุงคุณ.(2553).https://www.gotoknow.org/posts/341272[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 21   
         กรกฎาคม 2561.







ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม